ไม่มีหลักฐานแน่นชัดถือกำเนิดของอาหารไทยชนิดหนึ่งที่ เรียกว่า “ต้มยำกุ้ง” อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศได้เขียนถึงต้มยำกุ้งไว้ว่า
“เมื่อ รับข้าวเจ้าจากอินเดียเข้ามาพร้อมกับการค้าทางทะเลอันดามันและศาสนา พราหมณ์-พุทธทำให้ “กับข้าว”เปลี่ยนไปเริ่มมี “น้ำแกง” เข้ามาหลากหลาย ทั้งแกงน้ำข้นใส่กะทิแบบอินเดียกับแกงน้ำได้แบบจีน“
จีนทำให้อาหารไทยเติบโตขึ้น แล้วเกิดสิ่งใหม่ขึ้น เช่น ไข่เจียว และล่าสุดคือต้มยำกุ้งที่เอาวิธีปรุงอย่างพื้นเมืองดั้งเดิมมาปรับให้น้ำใส อย่างจีน
ดร.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์อาคันตุกะมหาลัยOSAKA ประเทศญี่ปุ่นกล่าวถึงคำว่า “แกง”ซึ่ง ปรากฏอยู่ในวรรณคดีมรดกสมัยรัตนโกสินทร์ ที่แสดงถึงมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของอาหารการกินในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุน แผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ
แกงในที่นี้ หมายถึง แกงจืดซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนฮั่นมาตั่งแต่อยุธยาตอนต้น อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศได้ให้คำนิยมคำว่า “แกง”ไว้สองความหมายคือ
ความหมายที่1 แกง แปลว่าความตาย หรือมีความหมายเดียวกับ ฆ่า เมื่อใช้พูดจาในชีวิตประจำวันเลยซ่อนคำว่าเข้าไปฆ่าแกง แล้วยังมีชื่อย่านครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า “ตะแลงแกง”สถานที่ประหารชีวิตนักโทษ
ความหมายที่ 2 แกงหมายถึงกับข้าวอย่างหนึ่งที่มีน้ำ เรียกว่าน้ำแกง เช่น แกงเนื้อ แกงปลาแกงส้มฯลฯจะเห็นว่าแกงต้องมีเนื้อสัตว์ จะมีเนื้อสัตว์มาปรุงได้ก้ต้องฆ่าเสียก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น